วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

เรื่องความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

เรื่องความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

WAP
คนส่วนมากมักเข้าใจผิด ว่า WAP (Wireless Application Protocol) เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือจริงๆแล้ว WAP คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ไร้สาย ประเภทอื่น เช่น PDA หรือ เพจเจอร์สามารถเชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต, อินทราเน็ต (Intranet) หรือแม้แต่ Corporate Network ได้ จึงทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายได้ในระดับหนึ่ง หลักในการทำงานทั่วๆไปของ WAP และ WWW มีความใกล้เคียงกันอยู่มากแต่สิ่งที่แตกต่างมากที่สุด คือการทำงานบน WWW นั้นจะใช้สมมติฐานว่าทุกๆองค์ประกอบของ WWW ทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน นั่นก็คือบนเครือข่ายแบบมีสาย (Fixed Network) นั่นเอง แต่ในขณะที่ WAP มีสองสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน คือมีทั้งในส่วนของเครือข่ายแบบมีสาย และเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) หรือ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Network) และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่นี่เองที่เป็นตัวปัญหา ให้มาตรฐานบางอย่างของ WWW ไม่สามารถนำมาใช้กับ WAP ได้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่รูปแบบของข้อมูล (Content Format) ใน WWW ข้อมูลที่ผู้ชมเห็นจะอยู่ในรูปของ HTML (HyperText Markup Language) และ JavaScript แต่ สำหรับ WAP แล้วข้อมูลจะอยู่ในรูปของ WML (Wireless Markup Language) และ WMLScript รูปแบบของรูปภาพก็ยังแตกต่างกันด้วย WBMP (Wireless Bitmap)จะเป็นตัวที่ใช้ในการแสดงรูปภาพต่างๆ บน WAP ส่วนบน WWW จะใช้ GIF หรือ JPEG

WIFI
วายฟาย(อังกฤษ: Wi-Fi) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ คำๆนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ที่ได้ให้คำนิยามของวายฟายว่าหมายถึง "ชุดผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11" อย่างไรก็ตามเนื่องจากแลนไร้สายที่ทันสมัย​​ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่านี้ คำว่า "วายฟาย" จึงถูกนำมาใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปโดยเป็นคำพ้องสำหรับ "แลนไร้สาย"
เดิมทีวายฟายออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้วายฟายเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์ หรือ ฮอตสปอต และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม.ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง
ภาพของอุปกรณ์ส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์อื่นทั้งที่เชื่อมต่อกับแลนไร้สายและเครือข่ายท้องถิ่นใช้สายในการพิมพ์เอกสาร
Wi-Fi มีความปลอดภัยน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบมีสาย (เช่น Ethernet) เพราะผู้บุกรุกไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อทางกายภาพ หน้าเว็บที่ใช้ SSL มีความปลอดภัย แต่การใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เข้ารหัสสามารถจะตรวจพบโดยผู้บุกรุก ด้วยเหตุนี้ Wi-Fi ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสต่างๆมากมาย WEP เป็นการเข้ารหัสรุ่นแรกๆ ถูกพิสูจน์แลัวว่าง่ายต่อการบุกรุก โพรโทคอลที่มีคุณภาพสูงกว่าได้แก่ WPA, WPA2 มีเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง คุณลักษณะตัวเลือกที่เพิ่มเข้ามาในปี 2007 ที่เรียกว่า Wi-Fi Protected Setup (WPS) มีข้อบกพร่องร้ายแรงที่ยอมให้ผู้โจมตีสามารถกู้คืนรหัสผ่านของเราเตอร์ได้ Wi-Fi Alliance ได้ทำการปรับปรุงแผนการทดสอบและโปรแกรมการรับรองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองใหม่ทั้งหมดสามารถต่อต้านการโจมตีได้

ISP
ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย

HTML
HTML ย่อมาจากHypertext Markup Langauge เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้สำหรับสร้าง Web Page ซึ่งจะถูกแปลความหมายและแสดงผลด้วย Web Browser และจะแสดงได้ทั้งข้อมูล
ที่เป็น ข้อความ เป็นเสียง เป็นภาพ และภาพเคลื่อนไหว เช่น VDO หรือภาพยนต์ ที่เรามองเห็นใน Internet .
( ภิญญู กำเนิดหล่ม, 2546: 7)
อ่านและ แปลตามคำ ได้ดังนี้

Hyper (ไฮเปอร์ ) มากมิติ

Text (เทคซฺทฺ) ข้อความ

Markup (มาร์ค'อัพ) ปริมาณ

Language ( แลง'เกว็จฺ) ภาษา

( แปลจากโปรแกรมแปล Dicthope ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ )

HTML เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้แท็กในการกำหนดโครงสร้าง
และลักษณะของข้อความหรือรูปภาพ โครงสร้างของภาษา HTML ประกอบด้วยส่วนหัว
และส่วนเนื้อหาซึ่งผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งต่าง ๆ กันไป การตกแต่งเว็บเพจอาจทำได้โดย
การใส่สีพื้น สีตัวอักษร และกำหนดขนาดตัวอักษรการสร้างตาราง การสร้างแหล่งเชื่อมโยง
การใช้ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประกอบในเว็บเพจซึ่งจะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม

GPRS
GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Services ซึ่งเป็นบริการเสริมแบบใหม่ที่รองรับการรับส่งข้อมูลข่าวสาร บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS สามารถรองรับการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าระบบ CSD และ SMS เดิมได้
GPRS ยังรองรับการให้บริการในรูปแบบใหม่ที่ไม่สามารถให้บริการได้บนเครือข่าย GSM เดิมเพราะข้อจำกัดด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลในแบบ CSD (9.6 kbps) และข้อจำกัดของขนาดของข้อมูลที่สามารถรับส่งได้ในแบบ SMS (160 ตัวอักษร) GPRS ทำให้สามารถให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อาทิเช่นการเข้าถึง WWW อย่างแท้จริง การรับส่งแฟ้มข้อมูล รวมไปถึงการควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
การสนองตอบที่รวดเร็ว
GPRS ทำให้การเชื่อมต่อมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างทันทีทั้งการรับและ การส่งด้วยการตัดความยุ่งยากในการขั้นตอนตั้งค่าต่างๆ ของโมเด็ม นั้นคือเหตุผลที่ผู้ใช้กล่าวกันว่า GPRS เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา (always connected) การสนองตอบได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้คืออีกหนึ่งคุณสมบัติที่เหนือกว่าการเชื่อมต่อแบบ CSD ในการใช้งานบางประเภทที่ต้องการการสนองตอบที่รวดเร็ว
ทฤษฎีของ GPRS
GPRS คือวิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบบ packet switching เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการสื่อสารข้อมูลแบบ CSD ของเครือข่าย GSM เดิมทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกใหม่ในการสื่อสารในรูปแบบ packet-based การขยายขีดความสามารถของเครือข่ายแบบ CSD เดิมให้เพิ่มความสามารถในการให้บริการแบบ packet switching ข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย GPRS จะถูกตัดแบ่งเป็น packet ย่อยๆ ก่อน ในแต่ละ packet จะมีข้อมูลระบุถึงที่มาที่สัมพันธ์กันเพื่อใช้ในการประกอบ กลับขึ้นมาเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้ง เปรียบได้กับเกม jigsaw ที่รูปภาพถูกตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ จากโรงงานแล้วบรรจุใส่ถุงขายให้ลูกค้า โดยในระหว่างทางขนส่งให้กับลูกค้านั้น ภาพชิ้นเล็กแต่ละชิ้นก็จะถูกคลุกคละกันไป เมื่อเรานำมันมาต่อเข้าด้วยกันก็ใช้วิธีดูจากความสัมพันธ์ของแต่ละชิ้น ซึ่งอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ใน internet เองก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเครือข่ายข้อมูลแบบ packet ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่นิยมสูงสุดในปัจจุบัน
ความเร็วในการส่งข้อมูล
ตามทฤษฏีแล้ว GPRS สามารถให้บริการที่ความเร็วสูงสุดถึง 171.2 kbps โดยต้องอาศัยการใช้ช่วงเวลา (timeslot) ทั้งแปดช่วงของทั้งหมดที่มี ซึ่งนั้นหมายถึงความเร็วสูงสุดที่สูงขึ้นถึงสามเท่าของการส่งข้อมูลผ่านสาย บนเครือข่ายโทรศัพท์ปัจจุบัน และสูงขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อแบบ CSD ในเครือข่าย GSM ถึงสิบเท่า
ปัจจัยในการใช้บริการ GPRS
ในการใช้งาน GPRS ผู้ใช้จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
ต้องเป็นผู้ใช้บริการในเครือข่ายที่รองรับระบบ GPRS
เครื่องโทรศัพท์มือถือจะต้องรองรับระบบ GPRS ด้วย
จะต้องมีการตั้งค่าต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือสำหรับการเชื่อมต่อ GPRS

CDMA
CDMA: Code Division Multiple Access (ซีดีเอ็มเอ)
เทคโนโลยีไร้สายดิจิตอลซึ่งใช้เทคนิคของ "การกระจายแถบความถี่" (spread spectrum) เพื่อส่งคลื่นวิทยุผ่านแถบความถี่ช่วงกว้าง เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอมีศักยภาพเหนือชั้นกว่าเทคโนโลยีอื่นๆมาก เพราะให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนและมีโอกาสที่สายหลุดได้ยากกว่า ปัจจุบัน มีผู้ใช้ระบบซีดีเอ็มเออยู่กว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก

Bluetooth
บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น
ระบบการทำงานของ Bluetooth
Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น


Read more: Bluetooth: ความหมาย และการทำงานของ Bluetooth | Computer Today for Your Step by Step




แหล่งที่มา : http://www.jongjarern.com/insurances/index.php?topic=627.0
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A2
http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter6/UN6_2.html
http://school.obec.go.th/wattha/html_learn/2html-tag-mean.html
http://guru.sanook.com/search/GPRS
http://www.l3nr.org/posts/261450
http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น